วันก่อนดูรายการ “หนึ่งในพระราชดำริ” ทางโมเดิร์นไนน์ ตอน “เด็กพิเศษ” ซึ่งหมายถึงเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่เด็กอัจฉริยะ เด็กสมาธิสั้น เด็กออทิสติก เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (LD - Learning Disability) เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม ฯลฯ
พ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ลูกสามารถใช้ชีวิตเหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป ซึ่งคุณหมอที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กพิเศษบอกว่า ถ้าพ่อแม่ยอมรับว่าลูกมีปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ หมอก็จะสามารถแนะนำวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยเด็กได้
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความรักและความเอาใจใส่ของพ่อแม่ เพราะต่อให้หมอที่เก่งแค่ไหน นักกิจกรรมที่มีความสามารถแค่ไหน แต่คนที่ใกล้ชิดลูกมากที่สุดก็คือพ่อแม่ นอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องให้เวลา อย่าคิดว่าการเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษคือการวิ่งร้อยเมตร จะสปีดให้ถึงเส้นชัย มันเป็นไปไม่ได้ ให้นึกว่าเป็นการวิ่งมาราธอน ไม่ต้องสปีด แต่ก็ต้องไม่หยุดวิ่ง...
ในรายการบอกว่าปัจจุบันเด็กที่อยู่ในวัยเรียนมีประมาณ 10 ล้านคน มีเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษอยู่ไม่น้อย โดยมีเด็ก LD ประมาณ 6 แสน - 1 ล้านคน เด็กสมาธิสั้นประมาณ 5 แสน และเด็กออทิสติกอย่างน้อย 5 หมื่นคน หมายความว่าอย่างต่ำ ๆ มีเด็กพิเศษประมาณ 1 ล้านกว่าคน หรือในเด็กทุก ๆ 10 คน จะมีเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ 1 คน
จำนวนตัวเลข 1 ใน 10 อาจจะทำให้พ่อแม่วิตกกังวลว่าลูกตัวเองจะมีปัญหา แต่สิ่งที่พ่อแม่น่าจะวิตกกังวลมากกว่าก็คือ เด็กธรรมดาที่พ่อแม่ปล่อยให้ดูทีวี-เล่นเกมจนติด จะแสดงลักษณะและอาการคล้ายกับเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการมีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่ช้ากว่าปกติ การไม่ชอบสังคม การจัดการกับอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ นี่ก็ตรงกับที่เราเคยเล่าเรื่อง
เด็กติดทีวีที่ได้ดูในรายการจุดเปลี่ยน
สรุปว่าพ่อแม่คงต้องตระหนักด้วยว่าควรจะเลี้ยงลูกกันอย่างไรถึงจะป้องกันไม่ให้ลูกที่เป็นเด็กปกติ กลายเป็นเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ “การสร้างวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือ” อย่างในบทความ
พัฒนาเด็กด้วยหนังสือ การลงทุนเพื่ออนาคต ของมูลนิธิซิเมนต์ไทย ที่ก็อปปี้มาโพสต์ไปเมื่อวันก่อนน่าจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เห็นผลแล้วเป็นรูปธรรม
8 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากนะนิจสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์ เอาไว้เราจะบอกเปาเปาว่าป้านิจเป็นคนแนะนำหนังสือพวกนี้ให้นะ :)
บอกเปาเปาว่า พี่สาว แนะนำมา :D
"เลี้ยงลูกด้วยหนังสือ" เห็นด้วยอย่างยิ่ง
แต่ทำได้ยาก เพราะบ้านเราหนังสือแพงโคตร
ถ้าเห็นแก่อนาคตของชาติจริง ๆ รัฐต้องงดหรือลดภาษีกระดาษ ... นี่ท่าจะยากกว่าเยอะ
หรือจะ "ซื้อเสียงด้วยหนังสือ" ก็น่าจะเข้าท่า ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง สส.ได้เสียง ประชาชนได้สมอง
คุณ golb ต้องย้อนกลับไปอ่านตอนที่แล้ว...
>>>ปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองยังมองเห็นว่า หนังสือภาพสำหรับเด็กมีราคาแพง หากเมื่อมองให้ลึกถึงคุณค่าแล้ว หนังสือภาพสำหรับเด็กไม่ได้มีราคาแพงเกินกว่าคุณประโยชน์มหาศาลที่เด็กจะได้รับ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับของใช้ฟุ่มเฟือยอื่น ๆ สำหรับเด็ก<<<
หวังพึ่งคนอื่นยากยิ่งนัก เปลี่ยนเป็น “ทำบุญด้วยหนังสือ” ไปก่อนละกัน (เดี๋ยวเขาพิมพ์ครบ ๕ เล่มเมื่อไหร่ จะซื้อแจกตามห้องสมุดต่าง ๆ ซัก หน่อย)
เปรียบกับของใช้ฟุ่มเฟือยน่ะ ใช่ครับ
แต่กับปากท้องแล้ว คุณ nitbert คงเดาได้ว่าพ่อแม่จะเลือกอะไร ในภาวะค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตคนไทยในเวลานี้
เรื่องนี้รัฐไม่ใช่ที่พึ่งครับ รัฐต้องบริการ
ไม่เพียงแค่หนังสือราคาถูก ต้องมีห้องสมุดประกบตามสาขา 7-Eleven เลย ไกลกันดารนักก็ทำเป็นโมบายไลบรารี่ก็ได้ แต่ต้องมาตรฐานระดับ Museum Siam นะครับ ต่ำกว่านั้นมันจะกลายเป็นสุสานไปซะเปล่า
งบประมาณไม่ใช่ปัญหา ขอแค่ หนึ่งเทอม(สี่ปี)ของรัฐบาลไม่ต้องซื้ออาวุธเลย บวกกับอีกซักสี่ห้าเปอร์เซ็นต์จากกำไรของ ปตท. แค่นี้ก็พอถมถืดแล้ว
มีอยู่โครงการนึงเห็นแวบ ๆ ทางทีวี ชื่ออะไรของใครไม่รู้ครับ ที่นิมนต์พระมาบิณฑบาตรหนังสืออ่ะ ผมว่าเจ๋งดี เปลี่ยนจากพระมาเป็นเด็กช้อปหนังสือฟรีน่าจะดี
:)
เห็นด้วยกับคุณ golb แค่ส่วนเดียว... เป็นความจริงที่มีคนจำนวนมากพอสมควร ที่มีรายได้น้อย และไม่พร้อมจะใช้จ่ายเงินซื้อหนังสือเพราะแค่ค่ากินค่าอยู่ก็แย่แล้ว
แต่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่ง ที่บอกว่าเงินไม่พอใช้ รายได้น้อย แต่กลับเอาเงินไปซื้อเหล้า-บุหรี่-เล่นหวย ผ่อนโทรศัพท์มือถือ ผ่อนทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ
แล้วก็มีคนฐานะปานกลางไปจนถึงดีจำนวนหนึ่ง ก็มัวแต่ไปแข่งขันด้านวัตถุกัน ซื้อของเล่นแพง ๆ ไฮเทคให้ลูก
เรื่องหวังพึ่งรัฐบาลนี่ขอไม่คอมเมนต์ดีกว่า เพราะมองไม่เห็นความหวังแม้แต่น้อย... -_-"
อันนี้ยอมเลย..ทำให้คนไทยรู้คุณค่าของหนังสือนี่ยากกว่าลดราคาหนังสือเป็นไหน ๆ
ทำสวนง่ายกว่าเยอะ ได้อ่านต้นไม้ อ่านแดด อ่านลม ฟรี ๆ ทุกวัน
:)
บางคนก็โชคดี ได้ทำสวน ชมไม้ดอกไม้ใบ
แต่บางคนก็ต้องก้มหน้าก้มตา “ไถนา” เอ้ย... นั่งจับเจ่าอยู่หน้าคอมฯ ต่อไป :P
แสดงความคิดเห็น