เขียนเรื่อง CSR ของไทยรัฐไปแล้ว วันก่อนเราได้อ่านข่าว CSR ดีๆ เหมือนกัน ลงข่าวในนสพ.ไทยรัฐนี่แหละ เสียดายที่ไม่ได้ลงหน้า ๑ แต่ก็ยังดีที่เป็นข่าวค่อนข้างใหญ่ของหน้ากีฬา เป็น CSR ของสยามสปอร์ต
คือสยามสปอร์ตร่วมกับ กกท. (การกีฬาแห่งประเทศไทย) จัดให้มีการสอนว่ายน้ำให้เด็กยากจนฟรี เนื่องจากสถิติการตายของเด็กไทย อันดับ ๑ คือ อุบัติเหตุจากการจมน้ำ (ปีละกว่า ๑,๕๐๐ คน) เขาก็เลยทำโครงการ “สอนน้องว่ายน้ำ” เทิดพระเกียรติ ๘๐ พรรษา มีเป้าหมายจะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจมน้ำให้เหลือแค่ครึ่งเดียว
นอกจากการสอนว่ายน้ำแล้วยังมีการเผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการว่ายน้ำในหนังสือพิมพ์สยามกีฬารายวันด้วย เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่อยู่ห่างไกล ที่ไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ ได้อ่านและศึกษาด้วยตัวเอง เพื่อนำไปใช้เอาตัวรอดในสถานการณ์คับขันได้
โครงการนี้เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๑ และเริ่มสอนวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ที่เว็บไซต์ของสยามสปอร์ต http://www.siamsport.co.th/25501227-065.html หรือ โทร. ๐๒-๕๐๓๔๐๕๐-๑
ข่าวร้าย
อ่านเจอเรื่อง “สูบส้วมมหาภัย” มีคนแจ้งตำรวจว่าจับรถสูบส้วมแถวๆ อ. พานทอง จ. ชลบุรี ปรากฏว่าเป็นการสูบส้วมเพื่อการกระทำบังหน้า จริงๆ แล้วเขาต้องการกำจัดสารเคมีอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม
รถสูบส้วมจะมารับสูบอุจจาระตามบ้านแค่ครึ่งหนึ่ง แล้วก็เอาไปเติมสารเคมีที่เป็นของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมอีกครึ่งหนึ่ง แล้วก็เอาไปปล่อยทิ้งตามที่ดินว่างๆ ตามข้างทาง หรือมีชาวบ้านขอไปทำปุ๋ยเพราะคิดว่าเป็นอุจจาระ
ที่เกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาได้ก็เพราะมีชาวบ้านหลายคนเกิดเจ็บป่วยด้วยอาการประหลาด ระบบหายใจผิดปกติ บางส่วนที่ขอเอาไปทำปุ๋ย ปรากฏว่า ต้นหญ้า ต้นข้าวในนา ต้นไม้ในสวน ยืนต้นแห้งตาย
ตำรวจจับรถสูบส้วมได้แล้วเอาปฏิกูลในรถไปตรวจกลายเป็น Oil Coolant (เป็นส่วนผสมระหว่างน้ำมันหรือไฮโดรคาร์บอนกับน้ำ) ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามผลิต, นำเข้า, ส่งออก, หรือมีไว้ในครอบครอง
ที่น่ากลัวคือ รถสูบส้วมที่โดนจับได้อาจจะไม่ใช่รายเดียวที่ทำแบบนี้ เพราะการกำจัดสารเคมีอันตรายมีค่าใช้จ่ายสูง โรงงานอุตสาหกรรมที่มักง่ายและเห็นแก่ตัวก็อาจจะเลียนแบบ หรือคิดวิธี(ไม่)สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายใหญ่หลวงกับชาวบ้านขึ้นมาได้อีก
เรื่องนี้ทำให้เราคิดต่อไปถึงเรื่องปัญหาโรงไฟฟ้าที่กำลังเป็นกระแสก่อนหน้านี้ คือเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ได้ยินคนออกมาพูดสนับสนุนกันค่อนข้างหนาหู เพราะความที่ราคาน้ำมันพุ่งพรวดๆ ทุกวัน บวกกับกระแสต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่บอกว่าสกปรกและอันตราย ใครๆ ก็ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขาเลยบอกว่านิวเคลียร์คือทางแก้ เป็นเชื้อเพลิงสะอาด อย่างโน้นอย่างนี้
เราในฐานะคนที่อยู่ในวงการโรงไฟฟ้า เรายืนยันได้เลยว่า สามารถทำโรงไฟฟ้าถ่านหินให้สะอาดได้เท่าๆ กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในด้านเทคโนโลยีมันเป็นไปได้ ไม่มีอะไรแปลกใหม่เลย แต่ต้องทำความเข้าใจกันว่าโลกนี้ไม่มีของฟรี
จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาด ก็ต้องใช้ต้นทุนการก่อสร้างแพงกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ/น้ำมัน (เพราะต้นทุนในการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดของเสียและมลภาวะจะสูงกว่า) แต่ถ่านหินก็ราคาถูกกว่าก๊าซธรรมชาติ/น้ำมัน (ซึ่งทำให้ต้นทุนในการดำเนินการต่ำกว่า) ดังนั้นการเลือกว่าจะใช้เชื้อเพลิงอะไร จึงเป็นเรื่องของการคำนวณหาจุดคุ้มทุน และปัจจัยอื่นๆ (เช่น ปริมาณสำรองของน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ/ถ่านหิน ที่จะมีใช้ต่อไปในอนาคต ฯลฯ)
แต่ทั้งนั้นและทั้งนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าที่สะอาด ไม่ได้หมายความว่าสร้างเสร็จแล้วเสร็จเลย มันมีกฏเกณฑ์และมาตรการมากมายที่ต้องทำตาม ซึ่งมาตรการเหล่านี้ครอบคลุมไปหมด ไม่ว่าเชื้อเพลิงอะไร จะถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน หรือนิวเคลียร์ เชื้อเพลิงสะอาดแค่ไหน ก็ยังต้องมีกฏเกณฑ์ที่ต้องทำตาม
ปัญหาของโรงไฟฟ้า (และโรงงานอุตสาหกรรม) “สกปรก” ในเมืองไทยไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยีการก่อสร้างหรือเงินทุน แต่อยู่ที่การบริหารจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสม
ในความเห็นส่วนตัวเรา ถ้าโรงไฟฟ้าสร้างด้วยมาตรฐานไทย (ที่เต็มไปด้วยคอรัปชั่น) และยัง operate ตามมาตรฐานคนไทย (ที่มีแต่คนมักง่าย เห็นแก่ตัว คิดสั้นๆ มองแคบๆ) ให้เลือกกี่ทีเราก็ยังเลือกโรงไฟฟ้าถ่านหิน และยังหวังด้วยว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะไม่ได้สร้างขึ้นในระหว่างที่เรายังมีชีวิตอยู่...
วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์
บทความต่าง ๆ ในบล็อก If we don't care, who will? โดย nitbert อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย
8 ความคิดเห็น:
ผมว่าอีกหน่อยวลีที่ว่า โชคดีที่ตายก่อน คงฮิตในบ้านเราแน่ๆ ผมก็คนนึงล่ะ ที่ขอให้ตูตายก่อนนะเว้ยค่อยทำอะไรพวกนี้...
คุณ mymoney, วลีที่ว่านี้ ถ้าจะให้ได้พูดจริงๆ คงต้องไปพูดกันที่ “ฝั่งโน้น” นะคะ ส่วน “ฝั่งโน้น” จะเป็นฝั่งไหน และใครจะได้ไปเจอกับใคร และ ก็ต้องแล้วแต่บุญกรรมที่กระทำกันไว้... :)
ถ้างั้นผมชัวร์เลยครับ บาปหนาอย่างผมนี่ "ฝั่งโน้น" ต้อง "ก้มหน้า" ดูครับ ;)
ถึงจะไม่ใช่คนตามกระแส แต่สงสัยจะได้ไปฝั่งที่มีคนเยอะๆ เหมือนกัน คงคึกคักดีคงพิลึกนะคะ แหะๆๆ ☺
อยากใช้โซล่าร์เซลล์แต่ก็แพงเหลือเกิน หลวงน่าจะลงทุนให้ก่อน แล้วราษฎร์ก็ค่อยๆ ผ่อนเอา น่าจะดี
happy new clear 2008 นะครับ
กวาดบ้านถูเรือนให้สะอาด ร่างกายจะได้แข็งแรง
:)
โห.. มาสวัสดีนิวเคลียร์ แบบนี้ก็แย่สิคุณ golb!!!
“ได้ยิน” มาว่าราคาของแผงโซลาร์เซลล์ถูกลงมาก แต่ไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย เมื่อวันก่อนเห็นโฆษณาของรัฐ (กระทรวงพลังงานหรือหน่วยงานอื่น?) เรื่องการใช้โซลาร์เซลล์ในที่ห่างไกล พร้อมชักชวนให้ใช้พลังงานทางเลือก แต่ก็ไม่เห็นว่ามีอะไรต่อจากนั้น คิดว่าน่าจะเป็นไปตามคาด คือรัฐก็ “ทำเป็น” รณรงค์ไปอย่างนั้นเอง เวลาจะลงมือทำจริงๆ ก็คงต้องเราๆ ท่านๆ นี่แหละ ที่ต้องหาหนทาง ช่วยเหลือตัวเอง เฮ้อ... นี่แหละประเทศไทย!
ราคาของแผงโซลาร์เซลล์ถูกลงมาก >> ยังเจ๊งอยู่ บ้านคนที่ติดแผงนี่บนหลังคา ไม่รู้ว่าตายไปแล้ว จะคืนทุนรึยัง เค้าต้องเป็นคนมีเงิน รักษ์สิ่งแวดล้อมสุดๆ
เรื่องการใช้โซลาร์เซลล์ในที่ห่างไกล >>> ที่เค้าต้องทำแบบนั้นเพราะ ปริมาณการใช้ในบริเวณนั้นๆมันน้อยสุดๆ ลงทุนทำสายส่งจาก main line ไปก็เจ๊งพอดี (ปรกติเจ๊งอยู่แล้ว)
อย่างพวกกังหันลม พวกสนับสนุนก็เย้วๆกันไป มันได้รู้กันมั่งมั้ยว่า ไฟที่ได้จากกังหันลมน่ะ 8 บาทต่อยูนิต ในขณะไฟที่ได้จากเชื้อแกสธรรมชาติน่ะ 1.67 บาทต่อยูนิต ส่วนไฟที่ได้จากโรงถ่านจะถูกว่าไปที่ได้จากก๊าซธรรมชาติซะอีก
ราคาของสิ่งต่างๆที่มีผลต่อค่าไฟ เรียงตามลำดับมากไปหาน้อยคือ
ค่าเชื้อเพลิง
ค่าลงทุน capital cost (ไม่ว่าโรงจะหรูขนาดไหน ก็ไม่มีวันที่จะมีผลต่อค่าไฟมากกว่าค่าเชื้อเพลิงไปได้ ดังนั้นการลงทุนทำโรงถ่านดีๆหรูๆ ติดตั้ง FGD อีก 1000 ล้าน ค่าไฟยังถูกกว่าโรงกาซเลย แต่ติดที่คนไม่ยอมรับต่างหาก ไม่ใช่ติดเรื่อง cost นักลงทุนเจ้าไหนๆก็อยากทำ)
ค่า maintenance อันนี้ถูกสุดๆ
คุณ nitbert ครับ รัฐท่านไม่ได้ "ทำเป็น" รณรงค์ หรอกครับ ท่านเป็นพวก NATO ตะหาก เป็นมานานแล้วด้วย
อ้อ NATO ไม่ได้หมายถึงนาโต้ แต่ย่อมาจาก No Action, Talk Only ครับ แฮ่...
แสดงความคิดเห็น